1

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เทคนิค สิ่งที่ควรรู้สำหรับผู้ใช้กล้องดิจิตอล ++++


แต่ก่อนนั้น คนที่จะถ่ายภาพจริงๆ จังๆ มักจะต้องใช้กล้องแบบ SLR เป็นหลัก ส่วนกล้องแบบคอมแพคจะเป็น
กล้องถ่ายภาพประเภทเล็งแล้วกดชัตเตอร์อย่างเดียว ทีเหลือจะปรับตั้งอะไรได้ไม่มาก นอกจากระบบแฟลช
หรือระยะชัดที่สามารถปรับได้บ้างเล็กน้อย จนกระทั่งมีกล้องคอมแพคแบบ SLR ขึ้นมา กล้องคอมแพคจึงเริ่ม
มีระบบการทำงานหลากหลายและสามารถปรับตั้งได้มากขึ้นเรื่อยๆ เข้าสู่ยุคดิจิตอลซึ่งกล้องดิจิตอลในช่วง
แรกมีราคาสูงกว่ากล้องฟิล์มมาก ในจำนวนเงินเท่ากัน ผู้ซื้อกล้องสามารถซื้อกล้อง SLR คุณภาพสูงได้ 1 ตัว
แต่กลับซื้อกล้องดิจิตอลคุณภาพล่างๆ ได้ 1 ตัวด้วยเช่นกัน ดังนั้น ผู้ผลิตกล้องจึงพัฒนากล้องดิจิตอลแบบ
คอมแพคให้มระบบการทำงานเพียบเท่ากล้องฟิล์มที่มีระดับราคาใกล้ๆ กัน กล้องดิจิตอลคอมแพคปัจจุบันใน
ระดับราคา 2 หมื่นกว่าบาท มีระบบปรับะระยะชัดต่อเนื่อง ถ่ายภาพเคลื่อนไหวได้ 5 ภาพ/วินาที ถ่ายภาพ
ซ้อน มีวัดแสงเฉพาะจุด และทำได้มากมายเช่นเดียวกับกล้องฟิล์มแบบ SLR ที่ระดับราคาใกล้ๆ กัน ดังนั้น
เราคงจะไม่สามารถกล่าวว่า กล้องคอมแพคเป็นกล้องปัญญาอ่อน เพราะกล้องคอมแพคมีระบบประมวลผลที่
ฉลาด ซับซ้อน สามารถใช้งานจริงจังก็ได้ หรือใช้ถ่ายภาพเล่นๆ สนุกๆ ก็ยังได้ในกล้องตัวเดียวกัน
กล้องดิจิตอลแบบคอมแพคในระดับราคา 10,000 บาทกลางๆ ขึ้นไปจะมีระบบถ่ายภาพให้เลือกใช้งานเกือบ
ครบ ทั้งระบบปรับตั้งเอง ระบบโปรแกรมชิฟ ชัตเตอร์อัตโนมัติ ช่องรับแสงอัตโนมัติ ระบบถ่ายภาพคร่อม
อัตโนมัติ ปรับความชัดโดยผู้ใช้ วัดแสงเฉพาะจุด ซึ่งปกติระบบเหล่านี้จะมีในกล้องราคาแพงเท่านั้น ผู้ใช้
สามารถใช้กล้องดิจิตอลคอมแพคถ่ายภาพได้ไม่น้อยหน้ามืออาชีพเท่าไร (กล้องมืออาชีพจะให้ภาพที่คมชัด
รายละเอียดสูง และสีสันดีกว่ากล้องดิจิตอลคอมแพคเท่านั้น ส่วนลูกเล่นและระบบการทำงานแทบไม่ต่างกัน
แล้ว) หากผู้ใช้กล้องดิจิตอลคอมแพคสามารถเข้าใจระบบการทำงานของฟังก์ชั่นต่างๆ ในตัวกล้อง ก็
สามารถถ่ายภาพได้ไม่น้อยหน้ามืออาชีพเช่นกัน
สิ่งที่เป็นอุปสรรค์ในการถ่ายภาพสวยๆ จริงๆ อาจจะอยู่ที่ความไม่เข้าใจในการปรับตั้งกล้อง หรือคิดว่ากล้อง
ตัวเองไม่น่าจะทำแบบโน้นแบบนี้ได้ ทั้งๆ ที่จริงแล้วกล้องสามารถทำได้มากมาย ต่อไปนี้เป็นเทคนิคการถ่าย
ภาพง่ายๆ โดยใช้กล้องดิจิตอลคอมแพคที่จะช่วยให้ผู้ใช้กล้องสามารถได้ภาพสวยงามดังใจมากยิ่งขึ้น


ในการถ่ายภาพกลางคืนหรือในสภาพแสงน้อยมากๆ โดยปกติจะมีการใช้แฟลชเพื่อเพิ่มแสงให้กับวัตถุ ภาพ
ที่ปรากฏออกมา ส่วนของวัตถุและบริเวณใกล้เคียงจะมีแสงที่พอดี ส่วนที่ไกลออกไปมักจะมืดมากจนมองไม่
เห็นอะไรเลย ถ้าเป็นภาพที่เน้นตัววัตถุที่เป็นจุดสนใจเพียงอย่างเดียวคงไม่ได้มีปัญหาอะไร แต่ถ้าเป็นภาพที่
ต้องการฉากหลังด้วย เช่น ภาพถ่ายคู่กับสถานที่ ภาพฉากหลังดำๆ คงไม่สวยและไม่สื่อถึงสิ่งที่เราต้องการ
บอกเล่าเท่าไรนัก
ปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องจาก เมื่อเราเปิดให้แฟลชทำงาน กล้องถ่ายภาพจะเลือกใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงเพื่อ
ป้องกันการสั่นไหวของภาพ เมื่อใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง บริเวณด้านหน้าที่โดนแสงแฟลชจะมีความสว่างของ
แสงเพียงพอ แต่ที่ระยไกลออกไป ปริมาณแสงแฟลชจะไม่เพียงพอเพราะอยู่ห่างจากแหล่งกำเนิดแสง ที่
ระยะไกลจึงมีแต่แสงธรรมชาติหรือแสงตามสภาพเป็นหลัก แต่การที่กล้องใช้ความเร็วชัตเตอร์สูง ทำให้แสง
ธรรมชาติหรือแสงตามสภาพเข้ามาไม่เพียงพอ ทำให้ภาพฉากหลังดำ
ทางแก้คือ ต้องลดความเร็วชัตเตอร์ลงไปเพื่อให้เซ็นเซอร์สามารถเก็บแสงที่ฉากหลังได้เพียงพอ เราเรียก
การใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำๆ ร่วมกับแฟลชในการถ่ายภาพในที่แสงน้อยๆ หรือกลางคืนว่า Slow-sync
สามารถปรับตั้งระบบ Slow-sync ได้โดยการตั้งระบบแฟลชไปที่รูปคนกับดาว หรือรูปสายฟ้ากับคำว่า Slow
การใช้งานระบบ Slow-sync ผู้ถ่ายภาพจำเป็นต้องใช้ขาตั้งกล้องเพื่อมิให้ภาพสั่นไหวจากการใช้ความเร็ว
ชัตเตอร์ต่ำ และไม่ควรให้จุดสนใจอยู่ห่างจากกล้องเกินระยะการทำงานของแฟลช (ถ้าเป็นกล้องคอมแพคที่
มีแฟลชในตัว ระยะห่างจะไม่เกิน 2.5 เมตรโดยเฉลี่ย)


ผู้ใช้กล้องดิจิตอลส่วนมากจะมีปัญหาภาพสั่นไหว โดยเฉพาะเมื่อถ่ายภาพในที่แสงน้อยๆ ทั้งนี้เนื่องมาจาก
เวลาอยู่ในที่แสงน้อย กล้องจะลดความเร็วชัตเตอร์ลงมาเพื่อให้ปริมาณแสงเพียงพอ การสดความเร็ว
ชัตเตอร์ (เพิ่มเวลาเปิดรับแสง) ทำให้ภาพมีโอกาสสั่นไหวได้มากขึ้น ยิ่งแสงน้อยเท่าไร ภาพยิ่งมีโอกาสสั่น
ไหวมากขึ้นเท่านั้น ผู้ใช้กล้องสามารถสังเกตว่าภาพจะมีโอกาสสั่นไหวหรือไม่จากการดูค่าความเร็วชัตเตอร์
ที่จอ LCD ของกล้อง หากความเร็วชัตเตอร์ต่ำกว่า 1/60 วินาที โอกาสสั่นไหวของภาพจะสูง และยิ่งซูมภาพ
มากเท่าไร โอกาสภาพจะสั่นไหวยิ่งสูงขึ้นตามไปด้วย ปกติความเร็วชัตเตอร์ที่สามารถทำให้มือถือกล้องนิ่ง
ได้จะอยู่ที่ 1/ทางยาวโฟกัสของเลนส์เทียบกับกล้องขนาด 35มม. เช่น ถ้าใช้กล้องคอมแพคดิจิตอลที่ขนาด
เลนส์ 5.6ทท. เทียบเป็นกล้อง 35 ได้ทางยาวโฟกัส 50 มม. ก็ควรใช้ความเร็วชัตเตอร์ประมาณ 1/50 วินาที
ขึ้นไป เป็นต้น
แต่ในสภาพแสงน้อยๆ โอกาสที่จะได้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงอย่างที่ต้องการเป้นไปได้น้อยมากๆ ดังนั้น ภาพ
จึงมีโอกาสสั่นไหวสูงเป็นพิเศษ ทางแก้ปัญหาจะมีอยู่ 2 แนวทางคือ
1. เพิ่มความไวแสงของกล้องให้สูงขึ้น เพื่อให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงขึ้น ข้อดีคือ สามารถใช้มือถือกล้องถ่าย
ภาพได้ตามปกติ ใช้ความเร็วชัตเตอร์สูงจับการคลื่อนไหวของวัตถุได้ เหมาะกับการถ่ายภาพเคลื่อนไหวในที่
แสงน้อยๆ ข้อเสียคือ ภาพจะมีสัญญาณรบกวนสูงขึ้น ยิ่งเพิ่มความไวแสงยิ่งมีสัญญาณรบกวน ภาพจะขาด
ความคมชัด รายละเอียดหายไปบ้าง สีสันผิดเพี้ยนไม่อิ่มตัวนัก คุณภาพโดยรวมลดลง
2. ใช้ขาตั้งกล้อง ทำให้ใช้ความเร็วชัตเตอร์ต่ำได้โดยกล้องไม่สั่นไหว ข้อดีคือได้ภาพคมชัด สีสัน ราย
ละเอียด และคุณภาพโดยรวมไม่ตกลงเหมือนการเพิ่มความไวแสง แต่ข้อเสียคือ ต้องพกขาตั้งกล้อง ซึ่งอาจ
จะเกะกะและสร้างความลำบากในการเดินทางอยู่บ้าง และไม่เหมาะกับการถ่ายภาพวัตถุที่เคลื่อนไหวให้หยุด
นิ่ง

ไม่มีความคิดเห็น: