1

วันพุธที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2551

อุปกรณ์ต่อเนื่องสำหรับกล้องดิจิตอล

บทที่ 1 แผ่นบันทึกข้อมูล
เมื่อแสงตกลงบน Image Sensor จะเกิดสัญญาณไฟฟ้าขึ้นมา สัญญาณไฟฟ้าจะถูกเปลี่ยนเป็นข้อมูลดิจิตอล
โดยการใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า Analog to Digital Converter จากนั้นข้อมูลดิจิตอลจะถูกปรับแต่งโดย Processor
มีการปรับแต่งสีผิว ความเปรียบต่าง ความคมชัด ความอิ่มตัวของสี ฯลฯ จากนั้นข้อมูลดิจิตอลจะถูกเก็บลงบนที่
เก็บข้อมูล
กล้องดิจิตอลในยุคแรกๆ ไม่มีแผ่นเก็บข้อมูล การเก็บข้อมูลใช้เมมโมรี่ภายในตัวกล้อง ทำให้เกิดข้อจำกัดเรื่อง
จำนวนภาพที่ถ่ายได้ หากพื้นที่เก็บข้อมูลในตัวกล้องเต็ม จะต้องถ่ายข้อมูลจากตัวกล้องเข้าที่เก็บ เช่น เชื่อมต่อ
กล้องเข้ากับคอมพิวเตอร์โดยใช้สาย Paralel Port จากนั้นโอนข้อมูลเข้าคอมพิวเตอร์แล้วล้างข้อมูลในตัว
กล้องออก ถึงจะนำกล้องดิจิตอลมาถ่ายภาพต่อได้
เมื่อกล้องดิจิตอลมีความละเอียดมากขึ้น จาก 300,000 pixels สู่ 3,000,000 pixels ข้อมูลมีขนาดใหญ่ขึ้นและ
ต้องใช้พื้นทีการเก็บภาพมากขึ้น มีการใช้กล้องดิจิตอลแทนกล้องฟิล์มดันอย่างแพร่หลาย จึงต้องออกแบบ
กล้องให้สามารถถ่ายภาพได้ไม่จำกัดจำนวน วิธีแก้ไขคือ การใช้แผ่นบันทึกข้อมูลแทนการบันทึกข้อมูลในตัว
กล้อง เมื่อแผ่นบันทึกข้อมูลเต็มก็สามารถเปลี่ยนแผ่นบันทึกข้อมูลแผ่นใหม่เข้าไปต่อได้ ทำให้สามารถถ่ายภาพ
ได้จำนวนมากเหมือนการเปลี่ยนฟิล์มม้วนใหม่ แผ่นบันทึกข้อมูลนี้ยังสามารถโอนข้อมูลไปยังคอมพิวเตอร์ ลบ
ภาพ และนำแผ่นกลับมาใช้ใหม่ได้นับจำนวนครั้งไม่ถ้วน ทำให้เกิดความสะดวกและประหยัดมากกว่า
นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถนำแผ่นบันทึกข้อมูลไปใช้กับคอมพิวเตอร์โดยตรง หรือผ่านตัวอ่านเพื่อโอนข้อมูลเข้า
คอมพิวเตอร์โดยไม่ต้องนำตัวกล้องไปเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ สามารถส่งแผ่นบันทึกข้อมูลไปอัดขยายภาพได้
โดยตรง และแผ่นบันทึกข้อมูลยังสามารถใช้ร่วมกับกล้องตัวอื่นๆ ได้อีกด้วยทั้งสะดวกและประหยัด
แผ่นบันทึกข้อมูลเปรียบเสมือนฟิล์มถ่ายภาพ คือ ทำหน้าที่เก็บภาพถ่าย แต่ฟิล์มมีหน้าที่เป็น Image Sensor
ด้วย แผ่นบันทึกข้อมูลสำหรับกล้องดิจิตอลจะมีให้ใช้งานหลากหลายมากๆ แต่ละแบบจะมีความสามารถในการ
บรรจุข้อมูล ความเร็วในการอ่านและบันทึกข้อมูลแตกต่างกันส่งผลให้ความรวดเร็วในการถ่ายภาพ จำนวนภาพ
ถ่ายต่อเนื่องของกล้องแต่ละรุ่นแตกต่างกันออกไปด้วย ยิ่งบันทึกข้อมูลและอ่านข้อมูลได้เร็วเท่าไร กล้องจะทำ
งานได้เร็วมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งผู้ที่จะซื้อกล้องจะต้องเลือกกล้องที่ใช้แผ่นบันทึกข้อมูลให้เหมาะสมกับการใช้งาน



ของตนเอง โดยเฉพาะการเผื่อใช้งานกับอุปกรณ์ต่อเนื่องอื่นๆ และเผื่อใช้งานในอนาคตอีกด้วย
แผ่นบันทึกข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบใหญ่ ๆ ได้คือ
1. แผ่นบันทึกข้อมูลแบบ Flash Memory ใช้หน่วยเก็บความจำคล้าย RAM ในเครื่อง PC แต่ไม่ต้องใช้
แบตเตอรี่ และความจำไม่หายแม้ปิดเครื่อง
2. แผ่นบันทึกข้อมูลแบบ Rotating Diskใช้แผ่นเก็บข้อมูลที่เป็นแม่เหล็กคล้ายแผ่น Disk หรือ Hard Disk
แผ่นเก็บข้อมูลแบบ Flash Memory
แผ่นเก็บข้อมูลแบบ Flash Memory ใช้หลักการเดียวกับ RAM ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ภายในประกอบด้วย
Chip ขนาดเล็กๆ จำนวนมหาศาล มีขนาดเล็ก เบา พกพาสะดวก ประหยัดพลังงานเพราะไม่มีชิ้นส่วนเคลื่อน
ไหว ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่ที่ตัวแผ่น เมื่อบันทึกข้อมูลแล้ว ข้อมูลจะไม่สูญหายเมื่อปิดกล้อง เป็นแผ่นเก็บข้อมูลที่
นิยมใช้งานกับกล้องดิจิตอลมากที่สุดเพราะมีขนาดเล็ก นอกจากใช้กับคอมพิวเตอร์แล้ว ยังใช้กับโทรศัพท์มือ
ถือ คอมพิวเตอร์ ปาล์ม เครื่องเล่น MP3 ฯลฯ
ชนิดของ Flash Memory สามารถแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้คือ
1. PC Card หรือ PCMCIA หรือ Personal Computer Memory Card International Association มีขนาด
ประมาณบัตรเครดิต แต่มีความหนามากกว่า ใช้เก็บข้อมูลในคอมพิวเตอร์โน้ทบุครุ่นแรกๆ มีการพัฒนาถึง 3 ครั้ง
คือ Type I, II, III แต่ละรุ่นจะใช้ทดแทนกันไม่ได้ เพราะขนาดความหนาไม่เท่ากัน ปัจจุบันไม่นิยมใช้การ์ด
ชนิดนี้กับกล้องดิจิตอลเพราะมีขนาดใหญ่เกินไป
2. CompactFlash (CF Card) ถูกคิดค้นโดย SanDisk ในปี 1994 และถูกพัฒนาออกมา 2 รูปแบบคือ Type I
และ Type II เป็นการ์ดเก็บข้อมูลที่ได้รับความนิยมในการใช้งานกับกล้องดิจิตอลมากที่สุด เพราะมีความจุสูง มี
การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ขนาดเล็กกว่าครึ่งหนึ่งของ PC Card
3. SmartMedia (SM) มีขนาดเล็กและบางมากกว่า CF Card นิยมใช้กันมากเช่นกัน แต่มีความจุสูงสุดน้อยกว่า
CF Card ใช้กันมากในอุปกรณ์กล้องดิจิตอล Digital Music Player กล้องวิดิโอดิจิตอล อัตราการโอนถ่ายข้อมูล
สูงมาก บันทึกและอ่านข้อมูลได้เร็ว ทนทานต่อุณหภูมิ
4. Memory Stick ถูกออกแบบโดย Sony เพือใช้กับกล้องดิจิตอลและอุปกรณ์ต่างๆ เช่น Music Palyer,
Notebook ของ Sony โดยเฉพาะ มีขนาดเล็ก แบนบาง รูปร่างคล้ายแท่งหมากฝรั่ง สามารถบันทึกและอ่าน
ข้อมูลได้อย่างรวดเร็ว
5. SD Card หรือ Security Disk เป็นการ์ดเก็บข้อมูลรุ่นใหม่ซึ่งมีความปลอดภัยของข้อมูลสูงมาก ออกแบบโดย
Panasonic, SanDisk และ Toshiba ถูกออกแบบให้ใช้กับอุปกรณ์รุ่นใหม่จำนวนมาก เช่น คอมพิวเตอร์พกพา
ปาล์ม เครื่องเล่นเพลง โทรศัพท์มือถือกล้องวิดิโอดิจิตอล อุปกรณ์นำทาง ฯลฯ ขนาดเล็ก เบา มีความจุสูง ใช้
พลังงานน้อยมาก ทนทานต่อแรงกระแทก และอุณหภูมิ
6. xD-Pixture Card ออกแบบสำหรับใช้กับกล้องดิจิตอลโดยเฉพาะ ผลิตโดย Toshiba โดยความร่วมมือของ
Olympus และ Fuji มีขนาดเล็กมากและมีความจุสูง รองรับการใช้งานของกล้องในอนาคต ทั้งกล้องดิจิตอล
กล้องวิดิโอดิจิตอล เครื่องบันทึกเสียงดิจิตอล และ ภายในการ์ดไม่มีวงจรควบคุมการทำงาน (ใส่ไว้ที่ตัวกล้อง)
ทำให้การ์ดมีขนาดเล็กและราคาถูกกว่า
7. MultiMediaCard มีขนาดเล็กและเบา ประหยัดพลังงานออกแบบให้ใช้กับอุปกรณ์ดิจิตอลมากมายในปัจจุบัน
เช่น คอมพิวเตอร์ กล้องวิดิโอดิจิตอล โทรศัพท์มือถือ GPS ทนทานต่อแรงกระแทกและอุณหภูมิ
กล้องแต่ละยี่ห้อแต่ละรุ่นจะใช้แผ่นเก็บข้อมูลแตกต่างกัน และส่วนใหญ่ไม่สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์โดย
ตรง ทำให้เกิดปัญหาต้องซื้อเครื่องอ่านการ์ดหรือต่อกล้องเข้ากับคอมพิวเตอร์แทน มีการผลิตอแดปเตอร์เพื่อ
ให้สามารถใช้การ์ดเหล่านี้กับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง เช่น Floppy Disk Adapter, CF Adapter, PCMCIA Card
Adapter เพื่อให้การ์ดรุ่นใหม่สามารถใช้กับตัวอ่านรุ่นเก่าได้

ไม่มีความคิดเห็น: